ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Paper mulberry - Paper Mulberry [1]
- Paper mulberry - Paper Mulberry [1]
Broussonetia papyrifera (L.) Vent.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Moraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Broussonetia papyrifera (L.) Vent.
 
  ชื่อไทย ปอกระสา
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำสา(ลั้วะ), หนั้ง(เมี่ยน), ไม้สา(ไทลื้อ), ป๋อสา(คนเมือง), ตุ๊ดซาแล(ขมุ), ไม้ฉายเล (ไทใหญ่), เตาเจ(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผิวเปลือกของลำต้นมีลักษณะค่อนข้างขรุขระ ลำต้นเมื่อถูกกีดก็จะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา
ใบ ใบออกสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี โคนใบเว้าเข้าลึก คล้ายเป็นรูปหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา หลังใบมีขนขึ้นประปราย เป็นสีเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-7นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ แยกออกเป็นคนละช่อ ลักษณะของช่อดอกตัวเมีย จะเป็นรูปทรงกลม ก้านเกสรเป็นเส้นฝอย ยาวมีสีม่วง และมีหลอดรังไข่อยู่ตรงกลางดอก สำหรับช่อดอกตัวผู้มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบและมีเกสร 4 อัน
ผล ผลจะออกตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของผลมีเนื้อนิ่ม ขนาดโตประมาณ 2 ซม. ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม เมื่อแก่หรือสุก จะมีเป็นสีแดงสด [1]
 
  ใบ ใบ ใบออกสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี โคนใบเว้าเข้าลึก คล้ายเป็นรูปหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา หลังใบมีขนขึ้นประปราย เป็นสีเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-7นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ แยกออกเป็นคนละช่อ ลักษณะของช่อดอกตัวเมีย จะเป็นรูปทรงกลม ก้านเกสรเป็นเส้นฝอย ยาวมีสีม่วง และมีหลอดรังไข่อยู่ตรงกลางดอก สำหรับช่อดอกตัวผู้มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบและมีเกสร 4 อัน
 
  ผล ผล ผลจะออกตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของผลมีเนื้อนิ่ม ขนาดโตประมาณ 2 ซม. ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม เมื่อแก่หรือสุก จะมีเป็นสีแดงสด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น ใช้ทำเชือก(ลั้วะ)
- เปลือกต้น ลอกออกแล้วนำไปขาย กิโลกรัมละ 10-20บาท(ลั้วะ,ไทลื้อ,คนเมือง,ม้ง,ขมุ)
ใบ หั่นหยาบๆใช้เป็นอาหารหมูได้(เมี่ยน)
ใบ ใช้เลี้ยงวัว(ไทลื้อ)
ใบ หั่นแล้วต้มผสมรำเป็นอาหารหมู(คนเมือง,ม้ง)
ยอดอ่อน ต้มให้หมูกิน(ไทใหญ่)
- เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นที่แห้งแล้ว ประมาณ 6-9 กรัมนำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อนเล็กๆ หรือใช้ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไอ เป็นบิดอุจจาระเป็นเลือด และผู้หญิงที่เลือดตก หรือนำเอาเผาไฟให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดใช้แต้มตา แก้ตาเป็นต้อ
ใบ ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มแล้วคั้นเอาน้ำ กินเป็นยาแก้บวมน้ำ กระอักเลือด อาเจียนออกมาเป็นเลือด เลือดกำเดาไหลไม่หยุด หรือนำมาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วทำเป็นยาเม็ดกิน แก้ปัสสาวะเป็นหนอง หูอื้อ ตาไม่สว่าง หรือนำมาตำคั้นเอาน้ำ หรือเอากากมาพอกบริเวณที่เป็นบาดแผลมีเลือดออก แก้พิษสัตว์กัดต่อย ผื่นคัน เป็นต้น
กิ่งก้านอ่อน ใช้เปลือกกิ่งก้านอ่อน นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำกินแก้ก้างปลา หรือกระดูกติดคอ โรคตาแดง หรือเอากากพอกบริเวณที่เป็นผื่นคัน และบาดแผลที่มีเลือดออกเป็นต้น
ผล ใช้ที่แห้งแล้วประมาณ 3-12 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือใช้บดให้ละเอียดแล้วผสมกับสุราทำเป็นยาก้อนเล็ก เป็นยาบำรุงไต และตับ ชูกำลัง ตาเป็นต้อ บวมน้ำ เป็นต้น หรือนำมาตำแล้วใช้พอกบริเวณที่เป็นฝีมีหนอง เป็นต้น
น้ำยาง ใช้น้ำยางที่สด นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน บาดแผล แก้บวมน้ำ และแก้แมลงพิษกัดต่อย เป็นต้น
รากและเปลือกราก ใช้รากและเปลือกรากที่แห้งแล้วประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข แก้ไอ แก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ ปวดฝี หรือนำมาหั่น บดให้เป็นผงละเอียด ใส่บริเวณที่เป็นแผลมีเลือด แผลฟกช้ำเป็นต้น [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง